ประวัติผู้นำทางวิชาการที่สำคัญของไทย
กนก วงษ์ตระหง่าน
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน
ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ ด้านเศรษฐกิจและการศึกษา
ประวัติ
ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน เกิดที่จังหวัดพิจิตร จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ได้เหรียญนักเรียนดีเด่น ก่อนจะสอบเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นรองเลขาธิการฝ่ายเศรษฐกิจของศูนย์การนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงย้ายไปเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแทน จากนั้นจึงไปศึกษาปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และได้ทุนศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ด้วยคะแนนเป็นที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2539 ได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) รุ่นที่ 37
ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน สมรสกับ ดร. เฉลยลัคน์ ธนะสิริ บุตรสาวของนายแพทย์เฉก ธนะสิริ อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร มีบุตร 3 คนคือ นางสาวแหวนยอด วงษ์ตระหง่าน นายปิ่นรัฐ วงษ์ตระหง่าน และ นายมกุฏชัย วงษ์ตระหง่าน
การทำงาน
ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน เป็นอาจารย์ ระดับ 4 ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่หลายปีจนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 10 ฝยปี พ.ศ. 2534 และจากนั้นจึงโอนย้ายไปรับราชการที่ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (นักบริหาร ระดับ 10) ในยุคที่มี ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2537
จากนั้นจึงเข้าสู่แวดวงธุรกิจ ด้วยการเป็นกรรมการบริหารสายปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด และได้รับการทาบทามเป็น ประธานบริหารสานปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน มีบทบาทสำคํยในการร่วมพลิกฟื้นสถานะของโรบินสันให้คงอยู่ต่อไป จากนั้นจึงเข้าเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด(ซีอีโอ) ในปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
งานการเมือง
ดร.กนก เป็นประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระประชาชน ในช่วงการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยรับผิดชอบทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ได้รับหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเงา ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์ [1] ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาวชิรมงกุฏไทย (ม.ว.ม.) 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ที่มา วิกิพีเดีย [2]
สิ่งที่ประทับใจ
เนื่องจากท่าทนเป็นคนที่ทำงานเก่งและมีความรู้ความสามารถมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง หรือทางวิชาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น